FM 98.50 MHz.
สถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

การรับมือกับน้ำท่วม

ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม

ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ

1.       การเฝ้าระวังน้ำท่วม : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตุการณ์

2.       การเตือนภัยน้ำท่วม : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม

3.       การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง

4.       ภาวะปกติ : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม

1.       ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว

2.       ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฎิบัติดังนี้

o    ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้

o    อย่าพยายานำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด

o    อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเสณน้ำหลาก

3.       ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว 

4.       ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม 

5.       ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง 
ควรปฎิบัติดังนี้

o    ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ซถ้าจำป็น

o    อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน

o    พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน

o    อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน

o    ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง

o    ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน

6.       หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง

o    อ่านวิธีการที่ทำให้ความปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน

7.       หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน

o    ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน 

o    ปิดแก็ซหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ซ 

o    เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน 

o    ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถีงบ้าน

ในระหว่างเกิดน้ำท่วม

  • ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย
  • ห้ามอยู่ใกล้บริเวณเส้นทางที่น้ำไหล

น้ำท่วมฉับพลัน

คือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย

  • ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที
  • ออกจารถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี
  • อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม

ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน

  • ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล :
    มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมาความสูงของน้ำแค่ 15 ซม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับ น้ำก่อนทุกครั้ง
  • ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม :
    การขับรถในพื้นที่ที่น้ำท่วมมีความเสียงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซม. พัดรถยนต์จักรยสานยนต์ให้ลอยได้
  • ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย :
    กระแส ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่ในบ้าน
  • ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อบ้านโดนน้ำท่วม :
    อุปกรณ์บางอย่างสามารถทำให้คุณช๊อกได้แม้ในขณะที่ไม่เสียบปลั๊ก ห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ จนกว่าแน่ใจว่าทุกชิ้นส่วนของอุปกรณ์นั้นสะอาดและแห้งสนิท
  • ระวังสัตว์อันตราย :
    สัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบที่อาจหนีน้ำเข้ามาในบ้าน
  • เดินอย่างระมัดระวัง :
    ระวังอันตรายจาก โคลนที่ทำให้ลื่น เศษแก้ว เข็ม ซากสิ่งของที่พังลอยมากับน้ำตอนที่น้ำลดแล้ว
  • ระวังแก๊สรั่ว :
    หากได้กลิ่นแก๊สให้อยู่ห่างๆ ไว้ ลองใช้ไฟฉายส่องดู เพื่อเช็คความเสียหายและห้ามสูบบุหรี่หรือไฟจนกว่าจะปิดแก๊ส หรือระบายอากาศในพื้นที่แล้ว
  • อันตรายจากคาร์บอนมอนออกไซต์ :
    ควรใช้ เตาย่าง หรือโคมไฟ นอกบ้านเพราะควันที่ออกมาจากสิ่งเหล่านี้อาจมีพิษและไม่ควรนำไปใช้ในบ้าน
  • ทำความสะอาดทุกอย่างที่เปียกน้ำ :
    น้ำท่วมเป็นน้ำที่มีสิ่งปฏิกูลและสารอันตรายเจือปน ห้ามบริโภคทุกอย่างที่สัมผัสน้ำ ส่วนเครื่องใช้ให้ล้างด้วยสบู่หรือน้ำสะอาด
  • ดูแลตัวและครอบครัว :
    หลังจากน้ำท่วมควรดูแลตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความเจ็บป่วยทางจิตใจอาจใช้เวลารักษานานกว่าความเจ็บป่วยทางกาย ดังนั้นควรพยายามเรียนรู้วิชาการที่จะสามารถเอาชนะความเครียดและความวิตกกังวล
  •  
  • ที่มา: http://cendru.eng.cmu.ac.th/?q=flood-preparedness
  • โดย: หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ (CENDRU)
            ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่