FM 98.50 MHz.
สถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนเทศบาล ๔  (ธนวิถี)  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา  

ผู้วิจัย บุษยาพร จันทร์พิศาล

ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

การจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเอง ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)  เทศบาลนครยะลา  จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)  ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  2)  เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  โรงเรียนเทศบาล ๔  (ธนวิถี)  ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์   กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กชาย – หญิงที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่  3/1 ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2561  โรงเรียนเทศบาล ๔   (ธนวิถี) เทศบาลนครยะลา  จังหวัดยะลา  จำนวน  33  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  1)  แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3  จำนวน  10  หน่วย  30  กิจกรรม  2)  แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีลักษณะเป็นคำถาม  ปลายเปิดประกอบรูปภาพ จำนวน 12 ข้อ  3) แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กขณะทำกิจกรรม จำนวน 9 ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย   ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และ การทดสอบค่าที  ( t – test ) 

สรุปผลการวิจัย

           1. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3  โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) ที่ได้รับ การจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.   ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากคะแนนเต็ม 3 คะแนน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ย  2.57   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.91  และเมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับดีทุกด้าน  เรียงลำดับจากมากไปน้อย มีดังนี้  ด้านการกล้าแสดงออก ค่าเฉลี่ย   2.59  ด้านความภาคภูมิใจ ค่าเฉลี่ย  2.56  ด้านการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม  2.56 

ไฟล์แนบ

ดาวน์โหลด