FM 98.50 MHz.
สถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MAPEE Model เพื่อส่งเสริม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

เรื่อง              การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MAPEE Model เพื่อส่งเสริม

           ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3

          โรงเรียนเทศบาล ๔  (ธนวิถี)  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา

ผู้วิจัย            ไพเราะ  สกนธวุฒิ

ปีการศึกษา       2560

บทคัดย่อ

          การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MAPEE Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔  (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา                 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ MAPEE Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3  2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3 ก่อนและหลัง การใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ MAPEE Model  3) เพื่อวัดเจตคติต่อการปฏิบัติกิจกรรมของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3  ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนโดยใช้รูปแบบ MAPEE Model กับกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยอายุ  5 – 6 ปี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี)  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบ MAPEE Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์ MAPEE Model โดยผู้เชี่ยวชาญ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ MAPEE Model แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ MAPEE Model และแบบวัดเจตคติของของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ MAPEE Model

ผลการวิจัย

1. รูปแบบการจัดประสบการณ์ MAPEE Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้  1)  ขั้นเริ่มต้นเรียนรู้  (Motivation)                   2) ขั้นมุ่งสู่ประสบการณ์ (Active learning)  3)  ขั้นนำเสนอผลงาน (Presentation)  4) ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Experience exchange)  5)  ขั้นสรุปและประเมินผล  (Evaluation) มีความเหมาะสมมากที่สุดทุกด้าน โดยทุกด้านมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมระหว่าง 4.75 - 5.00

2. เด็กชั้นอนุบาลปีที่  3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบ MAPEE Model เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง

มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. เจตคติของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบ MAPEE Model อยู่ในระดับดี