FM 98.50 MHz.
สถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ขับขี่ปลอดภัยกับมาตรการ (3 ม.) (2 ข.) (1 ร.)

ม ที่ 1 เมาไม่ขับ การดื่มสุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น และคนไทยนั้น

ดื่มมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก สำหรับความผิดของการขับรถในขณะเมาสุราคือ อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 2,000 - 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกควบคุมความประพฤติ

ม ที่ 2   สวมหมวกนิรภัย อุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นนั้นเกิดกับรถจักรยานยนต์ร้อยละ 80 หมวกนิรภัยไม่ใช่หมวกป้องกันอุบัติเหตุ แต่สามารถลดความรุนแรงลงได้ (ความผิดข้อหา ผู้ขับขี่/ผู้โดยสารรถ ไม่สวมหมวกนิรภัย อัตราโทษปรับไก่เกิน 500 บาท)

ม ที่ 3  มอเตอร์ไซค์ปลอดภัย การที่นำรถที่มีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีอุปกรณ์ต่างๆ ครบถ้วนมาใช้ในทาง จะช่วยให้อุบัติเหตุลดลงได้อีกทางหนึ่ง (ความผิดข้อหา นำรถที่มีอุปกรณ์ส่วนควบไม่ครบถ้วนมาใช้ในทาง อัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท)

ข ที่ 1  ใบขับขี่ ผู้ขับขี่ต้องผ่านการสอบข้อเขียนและการอบรมที่ถูกต้องจากกรมขนส่งทางบก เพื่อให้มีใบอนุญาตขับขี่และมีความรู้ในการขับขี่ที่ถูกต้อง มีความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (ความผิดข้อหาขับขี่รถไม่มีใบอนุญาตขับขี่ อัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท)

ข ที่ 2  รัดเข็มขัดนิรภัย เข็มขัดนิรภัยนั้นจะช่วยลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บได้ 40 - 50% (ความผิดข้อหา ขับรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัย/ไม่จัดให้คนโดยสารซึ่งนั่งตอนหน้าแถวเดียวกันกับผู้ขับขี่รัดเข็มขัดนิรภัย อัตราโทษปรับไม่เกิน 500 บาท)

1 ร  ขับรถเร็ว  การขับรถด้วยความเร็วสูงทำให้ความสามารถในการทรงตัวของรถน้อยลง หากจะต้องหยุดรถระยะทางในการห้ามล้อจะมากขึ้น ระยะเวลาในการตัดสินใจจะน้อยลง และความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะมากขึ้น (ความผิดขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท)