FM 98.50 MHz.
สถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

1 ธ.ค. นี้ เริ่มเสริมวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด สคร. 12 สงขลา ชวนนำบุตรหลานรับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ดร.นายแพทย์สุวิช  ธรรมปาโล  ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่าจากการที่องค์การอนามัยโลกหรือ WHO แนะนำให้ทุกประเทศใช้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด ก่อนสิ้นปี 2558 และกำหนดให้โรงงานหยุดผลิตวัคซีนเดิมชนิดกินรวม 3 สายพันธุ์ ในเดือนเมษายน 2559 เนื่องจากพบว่า วัคซีนโปลิโอชนิดกินรวม 3 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วย สายพันธุ์เซบิน 1 2 และ 3 มีผลข้างเคียงใน 2 กรณีคือ ทำให้เด็กที่รับวัคซีนเป็นโรคโปลิโอ แต่ไม่แพร่ระบาดสู่ผู้อื่น และในอีกกรณีคือทำให้เกิดโรคโปลิโอและทำให้ตัวเชื้อกลายพันธุ์ถึง 90ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสายพันธุ์เซบิน 2 ซึ่งพบได้น้อยมาก                      

    แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้เป็นไปตามแผนการขององค์การอนามัยโลก ที่ต้องการกวาดล้างโปลิโอให้หมดสิ้นภายในปี 2563 หรืออีก ปีข้างหน้า ขณะนี้หลายประเทศได้ตกลงและดำเนินการตามคำแนะนำของ WHO แล้ว ในส่วนของประเทศไทยนั้น จะนำวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด มาใช้ในเด็กไทย เข็มเมื่ออายุ เดือน เสริมจากที่ได้รับวัคซีนโปลิโอชนิดกินอยู่แล้ว ครั้ง โดยจะเริ่มให้วัคซีนชนิดฉีดเสริมตั้งแต่วันที่ ธันวาคม นี้ จากนั้นในเดือนเมษายน 2559 ไทยจะเปลี่ยนจากการใช้วัคซีนโปลิโอแบบใหม่เป็นการให้วัคซีนชนิดกิน สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เซบิน และ ร่วมกับการให้วัคซีนชนิดฉีดสำหรับสายพันธุ์เซบิน จึงขอเชิญชวนให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานไปรับวัคซีนโปลิโอให้ครบตามเกณฑ์ คืออายุ เดือน 4 เดือน 6 เดือน 18 เดือนและ ปีเหมือนเดิม และจะได้รับวัคซีนโปลิโอชนิดฉีดเสริมเมื่ออายุ เดือน

                วัคซีนโปลิโอทั้งชนิดกินและชนิดฉีดนับว่ามีประสิทธิภาพสูง สำหรับชนิดกินจะสร้างภูมิคุ้มกันทั้งในกระแสเลือดและภูมิคุ้มกันที่เยื่อบุลำไส้  ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ไม่ให้รุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย  และขัดขวางเชื้อโปลิโอที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่อาจรับเข้ามาโดยไม่ก่อให้เกิดโรค ส่วนภูมิคุ้มกันในกระแสเลือดจะสกัดกั้นไม่ให้ไวรัสที่ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดเข้าสู่ระบบประสาท ส่วนวัคซีนโปลิโอชนิดฉีดจะอยู่ในรูปของวัคซีนรวม โดยรวมอยู่กับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนฮิบ และวัคซีนตับอักเสบบี รวมเป็น 4 5 หรือ 6ชนิดในเข็มเดียวกัน สามารถใช้ทดแทนวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้ มีประสิทธิภาพสูงในการสร้างภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด แต่สร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ได้น้อย และสามารถลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการได้รับวัคซีนชนิดกินได้

          ดร.นายแพทย์สุวิช  ธรรมปาโล  ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคโปลิโอหรือไข้ไขสันหลังอักเสบ  เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอ ทำให้เกิดอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อแขนขา และในบางรายอาจเกิดการหายใจและหัวใจล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตได้  โรคโปลิโอติดต่อโดยการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางปาก เชื้อจะเพิ่มจำนวนขึ้นในลำคอ ลำไส้ และผ่านเข้าสู่ระบบประสาท ทำให้มีการอักเสบของไขสันหลังส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขา เพียงร้อยละ 1-2 ของผู้ติดเชื้อเท่านั้นที่จะเกิดอาการอัมพาต โรคโปลิโอพบได้บ่อยในเด็กที่อายุน้อยกว่า ปี เนื่องจากผู้ติดเชื้อไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ สามารถขับเชื้อออกจากทางเดินอาหารได้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ จึงทำให้เกิดการระบาดที่ง่ายและรวดเร็ว หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคโปลิโอหรือการรับวัคซีนโปลิโอสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422